เมนู

นามมีอันน้อมไปเป็นลักษณะ รูปมีการแตกสลายเป็นลักษณะ.
ก็ในการจำแนกนามรูปนั้น บทว่า เวทนา ได้แก่เวทนาขันธ์. บทว่า
สัญญา ได้แก่สัญญาขันธ์. บทว่า เจตนา ผัสสะ มนสิการ พึงทราบ
ว่า เป็นสังขารขันธ์. ก็ธรรมที่สงเคราะห์ด้วยสังขารขันธ์ แม้ด้วยเหล่าอื่น
มีอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้น ธรรม 3 ประการนี้ มีอยู่ในจิตที่มีกำลังเพลากว่า
ธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในที่นี้ท่านแสดงสังขารขันธ์ด้วยอำนาจธรรม
เหล่านั้นนั่นเอง. บทว่า จตฺตาโร ในบทว่า จตฺตาโร จ มหาภูตา นี้
เป็นการกำหนดจำนวน. บทว่า มหาภูตา นี้ เป็นชื่อของปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ. ก็นัยวินิจฉัยอย่างหนึ่ง ในข้อที่เป็น
เหตุให้ท่านกล่าวว่า ตานิ มหาภูตานิ ทั้งหมดท่านกล่าวไว้แล้วในรูป-
ขันธนิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ก็บทว่า จตุนฺนํ ในคำว่า จตุนฺนญฺจ
มหาภูตานํ อุปาทาย
นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ
ท่านอธิบายว่า ซึ่งมหาภูตรูป 4. บทว่า อุปาทาย แปลว่า ยึดมั่น
อธิบายว่า ถือมั่น อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาศัยก็มี. ก็ปาฐะที่เหลือ
ว่า ปวตฺตมานํ นี้ พึงนำมาเชื่อมเข้าในที่นี้. อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็น
ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถว่าประชุม พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า รูปอาศัย
การประชุมแห่งมหาภูตรูป 4 เป็นไป. เมื่อว่าโดยประการทั้งปวง รูปอาศัย
ภูตรูป 4 มีปฐวีเป็นต้น และรูป 23 ที่อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นไป
ที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีในอภิธรรม โดยแยกเป็นจักขายตนะเป็นต้น ทั้งหมด
นั้นพึงทราบว่า รูป.
ใน

วิญญาณนิเทศ

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ ความว่า ที่ชื่อว่าจักขุวิญญาณ เพราะวิญญาณ

อาศัยจักษุ หรือวิญญาณเกิดแต่จักษุ. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-
วิญญาณและกายวิญญาณก็เหมือนกัน. แต่อีกวิญญาณหนึ่ง ชื่อว่า มโน-
วิญญาณ เพราะอรรถว่าวิญญาณคือใจ. คำนี้เป็นชื่อของวิบากจิตที่เป็นไป
ในภูมิ 3 ที่เว้นทวิปัญจวิญญาณ.
ใน

สังขารนิเทศ

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
สังขารมีการปรุงแต่งเป็นลักษณะ ก็ในการจำแนกสังขารนั้น มี
อธิบายดังนี้ สังขารที่เป็นทางกาย ชื่อกายสังขาร. คำว่า กายสังขารนี้
12 ที่เป็นไปด้วยอำนาจไหวกายทวาร. คำว่า วจีสังขารนี้ เป็นชื่อแห่ง
วจีสัญเจตนา 20 เหมือนกัน ที่เป็นไปด้วยอำนาจการเปล่งวาจาในวจี-
ทวาร. สังขารที่เป็นไปทางจิต ชื่อว่าจิตตสังขาร. คำว่า จิตตสังขาร นี้
เป็นชื่อแห่งมโนสัญเจตนา 29 คือกุศลจิต 17 อกุศลจิต 12 อันเป็น
ฝ่ายโลกิยะ ที่เป็นไปแก่บุคคลผู้ไม่ทำการไหวในกายทวารและวจีทวาร
นั่งคิดอยู่ในที่ลับ.
ใน

อวิชชานิเทศ

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทุกฺเข อญาณํ ได้แก่ความไม่รู้ในทุกขสัจจะ คำนี้เป็น
ชื่อของโมหะ. ในคำว่า สมุทเย อญาณํ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในสัจจะ 4 นั้น พึงทราบความไม่รู้ในทุกขสัจจะด้วยเหตุ 4 คือ โดย
ภาวะที่หยั่งลงในภายใน โดยวัตถุ โดยอารมณ์ และโดยการปกปิด.
จริงอย่างนั้น ความไม่รู้นั้น ชื่อว่าทุกขสัจจะ เพราะหยั่งลงในภายในทุกข์
เพราะนับเนื่องในทุกขสัจจะ ชื่อว่าเป็นวัตถุ เพราะเป็นนิสสยปัจจัยแห่ง
ทุกขสัจจะนั้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะเป็นอารัมมณปัจจัย ความไม่รู้นั้น